วันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560

7 สิ่ง เพื่อดวงตา และช่วยในการมองเห็น

7 สิ่ง เพื่อดวงตา และช่วยในการมองเห็น

ลูทีน-ซีแซนทีน-เบต้า-กลูแคน-แอนไซยาโนไซต์-วิตามินซี-บี12-เบต้า-กลูแคน-d-contact-dd-shop

หากกำลังมีความสนใจดูแลสุขภาพตา หรือปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ซึ่งอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับตาต่าง ๆ ดังนี้

  • ต้อลม
  • ต้อเนื้อ
  • ต้อกระจก
  • ต้อหิน
  • เบาหวานขึ้นตา
  • เยื่อบุตาอักเสบ
  • วุ้นในตาเสื่อม
  • จอประสาทตาเสื่อม
  • ตาแห้ง
  • เคืองตา
  • แสบตา
  • คันตา
  • ตาพร่ามัว
  • ตาแดง
  • น้ำตาไหล
  • เห็นภาพซ้อน
  • เห็นเงาดำคล้ายฟ้าแลบ หรือแฟลช
  • เห็นภาพบิดเบี้ยว
  • มีขี้ตาเป็นเมือกเหนียว
  • ตาแฉะ
  • เห็นภาพหยากไย่ ลอยไปลอยมา
  • สายตายาว
  • สายตาสั้น
  • ตาบอดกลางคืน หรือมองไม่เห็นในที่มืด
  • สายตาพร่ามัว เหมือนมีฝ้า หรือหมอกบัง
  • ตาสู้แสงไม่ได้
  • ดินชนขอบโต๊ะ หรือสะดุดบ่อย ๆ การมองเห็นแคบลง
  • มีความดันลูกตาสูง
  • มีเนื้อเยื่อปิดตาดำ
  • ผู้ที่ใช้คอนแทคเลนส์เป็นระยะเวลานาน
  • ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ เป็นเวลานาน
  • ผู้ที่ทำงานกลางแดด ฝุ่น และลม
  • ผู้ที่ขับรถเป็นเวลานาน

เราทุกคนคงไม่อยากเจอปัญหาเกี่ยวกับตาข้างต้น เราทุกคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเราเอง และคนที่เรารัก เรามาดูกันว่า 7 สิ่ง เพื่อดวงตา และการมองเห็น ที่เป็นอาจจะทางเลือก อาจจะช่วยเรา ให้หลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น และบำรุง ลดความเสี่ยง หรืออาจจะฟื้นสภาพเซลล์ภายในตา ให้อยู่คู่กับเราตลอดไป

1
ลูทีน
(Lutein)
2
ซีแซนทีน
(Zeaxanthin)
ในร่างกายมนุษย์พบได้ที่เลนส์ตา และจอรับภาพของตา
คุณประโยชน์
  • กรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อจอประสาทตา และแสงที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น แสงจากดวงอาทิตย์, โทรทัศน์, จอคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ และหลอดไฟ เป็นต้น
  • ลดการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทรับภาพ บริเวณจอประสาทตา โดยจะยับยั้งกระบวนการตายของเซลล์ (Apoptosis) ที่ถูกกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก ซึ่งทำให้เซลล์บริเวณดังกล่าวเสื่อมสลายไป จึงช่วยป้องกัน และลดการเสื่อมของจอประสาทตา และต้อกระจก
แหล่ง
  • ดอกดาวเรือง (Marigold)
  • แครนเบอร์รี่ (Cranberry)
คำแนะนำ -
3
เบต้า-แคโรทีน
(β-Carotene)
  • เป็นรงควัตถุสีแดง-ส้มเข้ม
  • เป็นสารประกอบอินทรีย์
  • เป็นสารตั้งต้น ในการสังเคราะห์ วิตามินเอ ที่มีบทบาทสำคัญ ในการบำรุงร่างกาย ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ และช่วยเกี่ยวข้องในกระบวนการมองเห็น เป็นต้น
  • ร่างกายสามารถเปลี่ยนเบต้า-แคโรทีน เป็นวิตามินเอได้ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ
คุณประโยชน์
  • ให้สามารถมองเห็นในตอนกลางคืนได้ดี
  • ลดความเสี่ยงในการเป็น ต้อกระจก
  • ลดความเสื่อมของเซลล์ตา
  • ลดความเสี่ยงในการเป็นเยื่อบุตาอักเสบ
  • ต้านอนุมูลอิสระ
แหล่ง
  • ผลไม้ที่มีสีส้ม เหลือง หรือแดง เช่น ฟักทอง แครอท ข้าวโพดอ่อน แตงโม หน่อไม้ฝรั่ง แคนตาลูป และมะละกอสุก เป็นตัน
  • ผักที่มีสีเขียวทุกชนิด เช่น บร๊อคโคลี ผักคะน้า ตำลึง ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง และมะระ เป็นต้น
  • บิลเบอร์รี่
  • แครนเบอร์รี่
คำแนะนำ จากการวิจัยพบว่า วิตามินเอ อาจเป็นพิษได้ ถ้ารับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 23,000 หน่วยสากล (IU) ต่อวัน แต่ไม่พบว่า เบต้า-แคโรทีน มีความเป็นพิษ เมื่อรับประทานในปริมาณสูง ส่วนการมีปฏิกิริยากับสารอื่น ไม่พบรายงานว่า มีปฏิกิริยาของเบต้า-แคโรทีนกับยาสมุนไพร รวมทั้งผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใด ๆ
4
แอนโธไซยาโนไซด์
(Anthocyanosides)
แอนโธไซยาโนไซด์ เป็นสารที่ทำให้เกิด สีน้ำเงิน หรือม่วง ในพืชพบมากใน ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีสีม่วงเข้ม มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ Antioaidant ที่จะมีบทบาทต่อสุขภาพดวงตา
คุณประโยชน์
  • คืนสภาพสารโรดอพซิน (Rhodopsin) ได้หลังจากถูกแสง จึงช่วยทำให้การมองเห็นในที่มืดได้ดี
  • เพิ่มสีจอประสาทตาจึงช่วยให้ตาทนต่อแสงได้ดี
  • ต้านอนุมูลอิสระที่ดีเลิศ (Anti-oxidant) ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์
  • ช่วยเสริมสร้างหลอดเลือดและผนังหลอดเลือดฝอย
แหล่ง
  • บิลเบอร์รี
  • แบล็คเคอร์แรนท์
คำแนะนำ -
5
วิตามิน ซี
(Vitamin C)
วิตามินซี (Vitamin C) หรือ กรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สัตว์ส่วนใหญ่สามารถสังเคราะห์วิตามินซีเองได้ แต่มนุษย์ต้องอาศัยวิตามินซี จากอาหาร เสริมแทนเท่านั้น
คุณประโยชน์
  • ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนที่เป็นส่วนสำคัญในการรักษา และซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เป็นแผล ทั้งแผลที่เกิดจากการผ่าตัด แผลจากอุบัติเหตุ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  • ช่วยบำรุงตับได้เป็นอย่างดี ช่วยป้องกันโรคตับ และลดวามเป็นพิษจากสารเคมีที่อาจเกิดต่อตับ
  • ช่วยลดความดันเลือด
  • การดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ
แหล่ง
  • ผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น มะเขือเทศ มะนาว ส้ม มะเฟือง มะปราง กะหล่ำปลี มะละกอ กล้วยน้ำว้า ละมุด และแตงโม เป็นต้น
คำแนะนำ

องค์การอนามัยโลก แนะนำว่า
ควรรับประทานวิตามินซีอย่างน้อยวันละ 60-95 มิลลิกรัม แต่ไม่เกิน 2 กรัม

  • ผู้ชายควรได้รับวิตามินซี 90 มิลลิกรัม
  • ผู้หญิงควรได้รับ 75 มิลลิกรัม
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ควรได้รับวิตามินซีเพิ่มจากคนปกติอีก 35 มิลลิกรัม
  • สตรีมีครรภ์ควรได้รับวิตามินซี 90 มิลลิกรัม
  • แม่ที่ให้นมบุตรควรได้รับ 75-120 มิลลิกรัม
การรับประทานวิตามินซีมากแม้ว่าจะไม่เป็นพิษรุนแรง เพราะร่างกายขับวิตามินซีออกได้ทางปัสสาวะ การทานวิตามินซีปริมาณมากเกินไป ในเด็ก จะทำให้เกิดผื่น และปวดศีรษะได้

6
วิตามิน บี12
(Vitamin B12)
วิตามินบี12 หรือ โคบาลามิน (Cobalamin) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำอย่างมีประสิทธิภาพดี แม้มีเพียงปริมาณเล็กน้อย มีอีกชื่อที่รู้จักกันดีคือ วิตามินแดง หรือ ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin) เป็นวิตามินเพียงตัวเดียวที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นประกอบอยู่ และแตกตัวไม่ดีนักในกระเพาะอาหาร ต้องรวมตัวกับแคลเซียม เพื่อให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
คุณประโยชน์
  • เป็นหนึ่งในสารอาหารที่ช่วยรักษาโรคตาเสื่อมในผู้สูงอายุ
  • ช่วยบรรเทาอาการหงุดหงิด ลดความเครียด
  • ช่วยให้เซลล์ประสาททำงานอย่างมีประสิทธิและเป็นปกติ
  • ช่วยป้องกันการเสียหายของเส้นประสาท
แหล่ง
  • เนื้อสัตว์ เช่น ตับ ไต นม ไข่แดง ชีส ปลา อาหารทะเล เนื้อหมู เนื้อวัว อาหารหมักดอง เป็นต้น
คำแนะนำ
  • หากคุณเป็นมังสวิรัติ รวมถึงไม่รับประทานไข่และนม คุณควรรับประทานวิตามินบี 12 เสริม
7
เบต้า-กลูแคน
(β-Glucan)
เบต้า-กลูแคน คือ สารประกอบประเภทน้ำตาลหลายโมเลกุล หรือที่เรียกว่า โพลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติเป็นใยอาหาร (Fiber) ที่ช่วยในระบบการย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย คุณสมบัติมหัศจรรย์ที่สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายใช้ป้องกันโรคติดเชื้อจากจุลชีพต่างๆ
คุณประโยชน์
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายและตรวจจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายของเซลล์ macrophage
  • ควบคุมการหลั่ง cytokines เช่น interleukins เพื่อกระตุ้นการสื่อสารระหว่างเซลล์ต่างๆในระบบภูมิคุ้มกัน
  • กระตุ้นการหลั่ง colony-stimulating factors เพื่อเพิ่มปริมาณการสร้างและการเจริญเติบโตของเม็ดเลือดขาว เช่น neutrophils และ eosinophils จากไขกระดูก
  • ต้านเซลล์มะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งต่างๆ
  • ช่วยให้บาดแผลหายเร็วขึ้น
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้าง คอลลาเจน ของเซลล์ผิวหนัง
  • ลดการเกิดอนุมูลอิสระ
แหล่ง พืช เช่น เห็ด ผักสมุนไพรต่างๆ เช่น ว่านหางจระเข้ม, โสม, ข้าวโอ๊ต, ชะเอมเทศ, ยีสต์ (ยีสต์ดำ ยีสต์ ขนมปัง), ข้าวบาร์เลย์ , สาหร่าย และราเส้นใย เป็นต้น
คำแนะนำ เบต้า-กลูแคน มีประโยชน์มากมายเพียงใด แต่หาก ได้รับเพียงอย่างเดียว ก็ไม่สามารถที่จะ ทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้ ดังนั้นเพื่อการมีสุขภาพที่ดี เราจึงควรบริโภคสารอาหาร ให้ครบทั้งห้าหมู่อย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการออกกำลังกาย และการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย

7 สิ่ง ที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนมีคุณประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป หากเรานำคุณสมบัติที่เป็น คุณประโยชน์เหล่านี้ มาผสมผสาน และส่งเสริมกัน เพื่ี่อช่วยบำรุง ลดความเสี่ยง หรืออาจจะฟื้นสภาพเซลล์ภายในตา จะเกิดคุณประโยชน์ที่ดีกับตาขอบเราขนาดไหน

ยิ่ง 7 สิ่ง เหล่านั้น ได้มาจากธรรมชาติ และในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มาก ไม่น้อย เกินไป ก็จะเกิดแต่ผลลัพธ์ที่ดี ไม่มีผลข้างเคียง ค่อย ๆ บำรุง และค่อย ๆ ปรับสมดุลภายในดวงตา ให้มีสุขภาพที่ดีอยู่คู่กับเราตลอดไป


ข้อมูลอ้างจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น