วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

สารอาหาร

สารอาหาร-nutrients-dd-hbc-shop

สารอาหาร

สารอาหาร-nutrients-dd-hbc-shop

สารอาหาร คือส่วนของอาหารที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพที่แข็งแรง ให้พลังงาน การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ การเผาผลาญอาหาร การเจริญเติบโต การอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

ตัวอย่างสารอาหาร เช่น วิตามิน โปรตีน คารโบไฮเดรต น้ำ ไขมัน แร่ธาตุ เป็นต้น


ประเภทของสารอาหาร

สามารถแบ่งสารอาหารเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. สารอาหารหลัก (Macronutrients) สารอาหารหลัก เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานโดยตรง เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เป็นต้น
  2. สารอาหารรอง (Micronutrients) เป็นสารอาหารที่ไม่ได้ให้พลังงานโดยตรง แต่จะเป็นตัวกระตุ้น หรือทำให้สารอาหารหลักให้พลังงานออกมาได้ ซึ่งร่างกายเราจำเป็นต้องมีสารอาหารรอง ในปริมาณที่เพียงพอ และมีความจำเป็นกับอวัยวะต่าง ๆ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ เป็นต้น

ถึงแม้ร่างกายเราต้องการสารอาหารหลัก และสารอาหารรองที่แตกต่างกันมาก เพื่อให้ร่างกายเรามีสุขภาพที่ดี แต่สารอาหารทั้ง 2 ชนิด มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน


ร่างกายนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์อย่างไร

โดยทั่วไป ร่างกายเราจะสามารถนำสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ โดยการผ่านกระบวนการย่อยอาหาร เพื่อย่อย และแปลงรูปอาหารให้โครงสร้างทางเคมีให้เรียบง่ายขึ้น และขนาดเล็กลง ให้ง่ายต่อการถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ผ่านหนังของทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นท่อปลายเปิดที่มีกล้ามเนื้อห่อหุ้ม ยาวติดกันประมาณ 7-9 เมตร จากปากจนถึงทวารหนัก


ผลจากการขาดสารอาหาร

สารอาหารทุกอย่างล้วนมีความสำคัญกับร่างกายเราอย่างยิ่ง หากเราขาดสารอาหาร อาจจะก่อให้เกิดโรค หรือความผิดปกติกับร่างกายเราได้ อาทิ

  • โรคตาต่าง ๆ เช่น ตาฟาง ตาบอดกลางคืน เป็นต้น
  • ทำให้ใจสั่น โรคหัวใจโต และเต้นเร็ว หอบ เหนื่อย โรคเหน็บชา
  • ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก เป็นแผลที่ปาก
  • ทำให้เกิดโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน
  • ทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน กระดูกไม่แข็งแรง ข้อต่อมีเสียงดัง หรือปวดบริเวณข้อ
  • ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ร่างกายอ่อนแอ เปลือกตาขาวซีด ลิ้นอักเสบ เล็บเปราะ เบื่ออาหาร ความต้านทานโรคต่ำ
  • ทำให้เกิดโรคคอหอยพอก ต่อมไทรอยด์บวม ทำให้ร่างกายแคระ สติปัญญาเสื่อม สมองเสื่อม
  • ทำให้นอนหลับยากบ่อย ๆ
  • ทำให้ท้องเสียบ่อย หรือท้องผูกบ่อย
  • ทำให้ปวดหัวบ่อย ๆ
  • ทำให้ผิวหนังมีปัญหา
  • ทำให้ตาเหลือง ตัวเหลือง
  • ทำให้มีอาการปวดหลัง ปวดเอว
  • ทำให้น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มอย่างรวดเร็วมากผิดปกติ
  • ทำให้ขี้หลงขี้ลืมบ่อย ๆ
  • มีภาวะผิดปกติ เช่น สีของปัสสาวะ เป็นเสียงเหลืองจัด ผายลมบ่อย ๆ

ฯลฯ


การป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร

เราสามารถป้องกันไม่ให้ร่างกายเราขาดสารอาหารง่าย ๆ ได้โดยการรับประทานทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ให้ครบถ้วน ในปริมาณที่เพียงพอ ให้พอดีไม่มากไม่น้อยเกินการไป ตามความจำเป็นของร่างกาย


หากขาดสารอาหารต้องทำอย่างไร

หากขาดสารอาหารวิธีแก้ไขที่ดีสุด ก็คือ การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ รับประทานให้หลากหลายครบถ้วย และพอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รับประทานผัก และผลไม้ ให้หลากหลาย และเป็นประจำ นอกจากนั้น ก็สามารถพิจารณาสำหรับรับประทาน วิตามิน แร่ธาตุ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพิ่มเติม เพื่อฟื้นฟู หรือป้องกันจากภาวะผิดปกติ หากการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่เอื้ออำนวยให้ สามารถรับประทานอาหาร ให้ถูกหลักโภชนาการอย่างครบถ้วน เพียงพอ และพอดีได้

ควรปรึกษาผู้มีความรู้เกี่ยวกับ การรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เพื่อให้ได้รับความรู้ทางโภชนาการอย่างถูกต้อง


ข้อมูลอ้างจาก